บทความเรื่องศิลป


ผมมีหนังสืออยู่เล่มนึง อายุมากกว่าผมสามเดือน เป็นบทความเรื่องศิลป ของ ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี จัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ณเมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2506 อยากให้ได้อ่านกัน แต่ฉบับที่ผมมีอยู่เก่ามากดังภาพที่ท่านเห็น คงเปิดอ่านกันได้ไม่ถึงสองเที่ยวแน่นอน เลยคิดว่าจะสแกนไว้เป็น ebook แล้วก็อัพโหลดไว้ให้ได้ดาวน์โหลดอ่านกันครับ...

เชิญดาวน์โหลดได้เลยครับ ขนาดไฟล์ 12.5 MB download
สำรองไฟล์ไว้อีกที่นึงเลือกดาวน์โหลดเอานะครับ download 2
(อันนี้Expires:2009-11-26)

นายโหมด ว่องสวัสดิ์ (จิตรกรรม)


นายโหมด ว่องสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๓๙ เป็นศิลปินที่มีอาวุโสมากคนหนึ่ง ได้สร้างสรรค์ผลงานเป็นเวลายาวนานถึงเจ็ดสิบกว่าปี นายโหมด ว่องสวัสดิ์ รับราชการและทำงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญในกรมศิลปากร จนถึงอายุ๗๐ ปี ได้ทำงานมากมายในด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ฉากละคร งานเขียนภาพ งานเขียนแบบ งานเขียนลาย งานซ่อมแซมจิตรกรรมฝาผนัง งานซ่อมแซมในวัดวาอาราม สามารถทำงานได้ในแบบประเพณีและแบบสมัยใหม่ เป็นผู้ที่รักและยึดมั่นในงานช่างและงานศิลปะ ในด้านจิตรกรรมแบบประเพณีนั้น

นายโหมด ว่องสวัสดิ์ ได้เขียนและซ่อมภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดา ราม การทำงานเพื่อพระศาสนาและบริการชุมชนนั้น นายโหมด ว่องสวัสดิ์ ได้เริ่มงานที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ ได้รับผิดชอบการสร้างและซ่อมงานศิลปะซึ่งมีทั้งงานจิตรกรรม ประติกรรมและสถาปัตยกรรมแบบประเพณี ผลงานสำคัญ เช่น การออกแบบและเขียนลายไทยสำหรับงานแกะสลักไม้บานประตูและหน้าต่างโบสถ์วิหาร ซึ่งมีจำนวนมากมาย นอกจากนี้ยังได้ควบคุมการทำงานของช่างทั้งหมด นายโหมด ว่องสวัสดิ์ ได้อุทิศตนเองให้แก่งานช่างและงานศิลปะตลอดเวลาอันยาวนาน ได้ทำงานและดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม ทำงานรับใช้ส่วนรวมและพระพุทธศาสนา

นายโหมด ว่องสวัสดิ์ สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๐

บทความจาก art.culture.go.th

นายประสงค์ ปัทมานุช (จิตรกรรม)



นายประสงค์ ปัทมานุช ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2529 เกิดวันที่ 29 มิถุนายน 2461 เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญในด้านจิตรกรรมที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับใน วงการศิลปะและทั่วไป ได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมที่เป็นงานศิลปะแบบปัจจุบันและแบบประเพณีไว้มาก มายหลายแห่ง ได้ส่งผลงานเข้าร่วมการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติตั้งแต่ครั้งที่ 1 เมื่อพุทธศักราช 2492 ได้รับรางวัลเกียรตินิยมเหรียญทองหลายครั้ง และได้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมผลงานที่สำคัญได้รับการติดตั้งแสดงถาวรใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิกในทางจิตรกรรมสัญลักษณ์นิยมอีกด้วย ในด้านวิชาการนั้นเป็นอาจารย์รุ่นแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร สมัยบุกเบิก เมื่อพุทธศักราช 2486 เป็นผู้ที่มีความสามารถในการเขียนภาพทั้งแบบใหม่และแบบเก่า มีบทบาทในการอนุรักษ์สืบต่อศิลปะแบบไทยประเพณีนิยมกรมศิลปากรได้จัด นิทรรศการเชิดชูเกียรติ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ เมื่อพุทธศักราช 2529 ท่านได้อุทิศเวลาอันยาวนานทำงานศิลปะ ด้วยความสามารถพิเศษในทางจิตรกรรม จึงได้รับเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2529

บทความ และภาพจาก art.culture.go.th

นายเฟื้อ หริพิทักษ์ (จิตรกรรม)


นายเฟื้อ หริพิทักษ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2528 เป็นศิลปินและจิตรกร ผู้ได้รับการยกย่องเป็น “ครูใหญ่ในวงการศิลปะ” ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ. 2526

นายเฟื้อ หริพิทักษ์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2453 ที่จังหวัดธนบุรี ต่อมา พ.ศ. 2468 ได้เข้ารับการศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เข้าทำงานที่วิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร จากนั้น พ.ศ. 2483 ได้เดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิศวะ – ภารติ ที่ประเทศอินเดีย รับราชการเป็นอาจารย์สอนศิลปะรุ่นแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศอิตาลี เมื่อ พ.ศ. 2497 ได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมจนได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมสาขาจิตรกรรม

นายเฟื้อ หริพิทักษ์ เป็นผู้สนใจศึกษาศิลปะอย่างมุ่งมั่นลึกซึ้ง ด้วยการค้นหาแนวทางสร้างสรรค์ให้เหมาะกับการแสดงออกทางด้านจิตรกรรม ที่มีลักษณะเฉพาะตนโดยการถ่ายทอดสภาพแวดล้อม บรรยากาศ แสงเงา ประกอบกับความคิดคำนึงเรื่องสีสันที่เป็นลักษณะตามสายสกุลศิลปะยุโรป (อิตาลี) ใช้ฝีแปรงที่ฉับพลัน ดังปรากฏในผลงานจิตรกรรมมากมาย อาทิ จิตรกรรมทิวทัศน์เมืองเวนิชที่อิตาลี ทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ภาพเหมือนคุณยายของฉัน ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ฯลฯ

นอกจากนี้ นายเฟื้อ หริพิทักษ์ ยังทำการสำรวจโดยคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังตาม วัดสำคัญที่เป็นโบราณสถานเก็บไว้เป็นหลักฐานมรดกทางประวัติศาสตร์ศิลปะของ ชาติ มีผลงานซ่อมแซมภาพจิตรกรรมสำคัญในวัดทั่วประเทศไทยทั้งสิ้น 23,000 วัด ผลงานที่สำคัญชิ้นหนึ่ง คือการบูรณะปฏิสังขรณ์หอไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตาราม

นายเฟื้อ หริพิทักษ์ เคยกล่าวไว้ว่า ข้าพเจ้าทำศิลปะด้วยใจรัก เลื่อมใสและจริงใจ มิได้ทำไปเพราะอามิส ข้าพเจ้าทำศิลปะเพื่อศึกษาค้นคว้าหาความจริงในความงามอันเร้นลับอยู่ภายใต้ สภาวะธรรมฯ ผลงานอันเกิดจากกำลังกาย กำลังความคิด และกำลังใจของข้าพเจ้า ขอน้อมอุทิศให้ท่านอาจารย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า

นายเฟื้อ หริพิทักษ์ เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2536

บทความจาก th.wikipedia.org
รูปจาก oknation.net

contact

Contact ARTIS:enter